บทความที่ได้รับความนิยม

วันพุธที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ระบบบัญชี CD Organizer

ด้วย โปรแกรมบัญชี CD Organizer จะช่วยให้การทำงานลดความซ้ำซ้อนไปได้เป็นอย่างมาก ตัวอย่างเช่น
  • เมื่อป้อน บิลขาย ด้วย โปรแกรมบัญชี CD Organizer แทนการพิมพ์ดีดด้วยมือ ผลที่จะได้ตามมาโดย อัตโนมัติ คือ
    - ได้ใบบิล/ใบส่งของ ที่สะอาด ปราศจากการ ลบ/ขีด/แก้ไข
    - ได้รายงานภาษีขาย ส่งสรรพากร
    - ได้การ์ดลูกหนี้ / ระบบติดตามหนี้
    - ได้การ์ดสต็อกสินค้า
    - พิมพ์ใบวางบิล ได้โดยอัตโนมัติ
    - รายงานสรุปยอดขายเพื่อไป ช่วยคิด คอมมิชชั่น
  • เช่นเดียวกัน เมื่อป้อน ซื้อสินค้า ด้วยโปรแกรมบัญชี ผลที่จะได้ตามมาโดยอัตโนมัติ คือ
    - ได้รายงานภาษีซื้อ ส่งสรรพากร
    - ได้การ์ดเจ้าหนี้
    - ได้การ์ดสต็อกสินค้า
    - พิมพ์ใบรับบิล ได้โดยอัตโนมัติ
  • และเมื่อถึงกำหนดชำระ ลูกหนี้ มาชำระเงิน ด้วยโปรแกรมบัญชี ผลที่จะได้ตามมาโดยอัตโนมัติ คือ
    - ได้การ์ดลูกหนี้ โดยสมบูรณ์
    - หากชำระเป็นเช็ค ก็จะทำทะเบียนเช็ครับ เพื่อคุมเช็คและนำเข้าธนาคาร
    - รายงานสรุปยอดเก็บเงินเพื่อไป ช่วยคิด คอมมิชชั่น
  • และเมื่อถึงกำหนดชำระ ชำระเงินให้เจ้าหนี้ ด้วยโปรแกรมบัญชี ผลที่จะได้ตามมาโดยอัตโนมัติ คือ
    - ได้การ์ดเจ้าหนี้ โดยสมบูรณ์
    - ทำประมาณการเงินสด จากเงินที่จะได้รับ/จ่าย ในอนาคต
    - หากชำระเป็นเช็ค ก็จะทำทะเบียนเช็คจ่าย เพื่อคุมเช็คและนำเข้าธนาคาร
    - ได้รายงานภาษีหัก ณ. ที่จ่าย ส่งสรรพากร
  • จากการป้อนรายการดังกล่าว โปรแกรมบัญชี CD Organizer จะทำการลงบัญชี DR, CR ให้อัตโนมัติ
    - ลงสมุดบัญชีรายวัน
    - ลงบัญชีแยกประเภท
    - ทำงบกำไร-ขาดทุน
    - ทำงบดุล, งบทดลอง ให้โดยอัตโนมัติ
ทั้งหมดนี้ เป็นการยกตัวอย่างพอสังเขป หากเป็นธุรกิจที่ซับซ้อน ระบบก็จะสามารถที่จะกำหนดวิธีการทำงานให้สอดคล้องกับการทำงานนั้นๆ ได้ เชิญพิสูจน์และชมการสาธิต ได้ฟรี ถึงสถานที่

ที่มา http://www.cd-organizer.com/index.html

โปรแกรมบัญชี CD-Organizer


  • ถูกต้องตามหลักประกาศสรรพากร ฉบับ 63 และ ฉบับ 89
  • ง่ายต่อการใช้งานด้วยระบบการทำงานด้วยเมนู (Pull Down Menu)
  • สามารถเข้าถึงจุดที่ต้องการทำงานได้อย่างรวดเร็ว (Hot Key)
  • สามารถสอบถาม วิธีการใช้งานได้ในขณะทำงานใน แต่ละหน้าจอนั้น ๆ (Online Help)
  • เชื่อมโยงระบบงานไว้ด้วยกันถึง 18 ระบบ (Full Package)
  • การทำงานเป็นแบบปรับปรุงข้อมูลทันที ทันเหตุการณ์ (Online Interactive)
  • ทุกระบบจะส่งข้อมูลโยงถึงกัน ทำให้ลดการทำงานที่ซ้ำซ้อน เช่น เมื่อป้อนบิลจะได้ใบ Invoice, บัญชีลูกหนี้, การ์ดลูกหนี้, สต๊อกการ์ด, ภาษีขาย
  • แสดงรายงานได้ทั้งทางจอภาพและเครื่องพิมพ์ หรือส่งไประบบอื่น ๆ ได้ทั้ง MS WORD, EXCEL
  • มีเมนูการทำงานทั้งภาษาไทย และอังกฤษ
  • สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้ในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (LAN)
    • กรณียังไม่มีระบบเครือข่าย Lan สามารถนำข้อมูลจากอีกเครื่องหนึ่ง มาปะรวม กับอีกเครื่องหนึ่งได้
    • ผู้ใช้แก้ไขจำนวนและทศนิยมของข้อมูลได้เอง เช่น จำนวนหลักของราคา, จำนวนเงิน, จำนวนสินค้า
    • แก้ไขรหัสสินค้า, ผังบัญชีได้ ในภายหลังแม้ป้อนข้อมูลไปแล้ว
  • มีการสำรองข้อมูล เพื่อป้องกันการเสียหายของข้อมูลอย่างสมบูรณ์ (Backup Data) พร้อมทั้ง มีระบบการเตือนการสำรองข้อมูล
  • มีการกำหนดสิทธิการใช้ข้อมูล ของผู้ใช้งาน ตามระดับตำแหน่งหน้าที่และเป็นรายบุคคล
  • มีการกำหนดสิทธิแต่ละพนักงานในการดูรายงาน, ป้อนข้อมูล, แก้ไขข้อมูล
  • ผู้ใช้งานสามารถออกแบบสร้างแบบฟอร์มและรายงานเพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง ไม่จำกัดจำนวน
  • มีรายงานช่วยงานด้านบัญชี และข้อมูลด้านบริหาร มากกว่า 400 รายงาน
  • สร้างช่องบริษัทใหม่ ๆ ได้ไม่จำกัดจำนวนบริษัทและรวมข้อมูลเข้าด้วยกันได้ (Consolidate)
  • สอบถามข้อมูลได้ทั้งรหัส และคำทุกคำ, ทุกพยางค์ในทุกเนื้อหา
  • ป้อนรายการเสร็จ ระบบจะสามารถพิมพ์งบต่าง ๆ ได้ทันทีโดยไม่ต้องรอถึงสิ้นปี
  • แปลงสกุลเงินได้ไม่จำกัดจำนวนสกุลเงิน
  • มีเครื่องคิดเลขติดมากับโปรแกรม ไม่ต้องคอยกดเครื่องนอกโปรแกรม
  • บริษัทเป็นผู้พัฒนาโปรแกรมบัญชีเอง จึงมั่นใจได้ถึงความคล่องตัวในการแก้ไขโปรแกรม ในอนาคต (ในกรณีสรรพากรออกกฎบังคับใหม่ ๆ ขึ้นมา) และพัฒนาโปรแกรมบัญชีได้ตรงงานที่สุด
ที่มา http://www.cd-organizer.com/detail01.html

วันอังคารที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

เลือกโปรแกรมบัญชีอย่างไรดี?

สิ่งสำคัญต่อไปที่ต้องทำในการจัดระบบบัญชีเพื่อการจัดการ คือการเลือกหาโปรแกรมบัญชีที่เหมาะสมกับธุรกิจของเรามาใช้ เพื่อความมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว ประหยัดคนและประหยัดเวลา


การเลือกโปรแกรมบัญชี ท่านจะต้องเปิดโอกาสให้ทีมงานที่เกี่ยวข้องของท่านได้มีส่วนร่วมในการสรรหา ด้วยเพราะเคยเกิดขึ้นอยู่บ่อยๆว่าผู้บริหารเป็นผู้เลือกและตัดสินใจ พอซื้อเสร็จก็โยนให้ฝ่ายบัญชีไปใช้ ปรากฎว่าฝ่ายบัญชีรู้สึกว่าถูกบังคับก็เลยเกิดการต่อต้านหรือเกิด ความไม่ชอบและไม่ให้ความร่วมมือ จนในที่สุดก็กลายเป็นความล้มเหลว
ปัจจัยที่จะต้องพิจารณาในการเลือกโปรแกรมบัญชี มีดังนี้
1. งบประมาณ ก่อนที่จะเริ่มต้นเลือกโปรแกรมบัญชี เราต้องทำการจัดสรรงบประมาณเสียก่อน สิ่งที่จะเกี่ยวข้องคือ ค่าใช้จ่ายสำหรับ โปรแกรมบัญชี ค่าใช้จ่ายในเรื่องHardware และที่จะใช้ติดตั้งโปรแกรมฯนั้น
2. พิจารณาคุณสมบัติของโปรแกรมบัญชี สามารถรองรับความต้องการที่สำคัญๆ ส่วนใหญ่ของธุรกิจโปรแกรมบัญชีในตลาดนั้นมีหลากหลายแตกต่างกันไปทั้งลักษณะ การใช้งานและราคา การที่จะเลือกซื้อนั้นเราต้องสำรวจความต้องการธุรกิจของเราด้วยการเรียง ลำดับความสำคัญของงานที่ต้องการ โปรแกรม ฯ ดังกล่าวควรรองรับความต้องการที่เรียงลำดับไว้ 70-80%
บางกิจการพอเริ่มจะเปลี่ยนจากการไม่เคยใช้คอมฯเลย แต่พอวางแผนจะใช้ขึ้นมาก็ตั้งเป้าไปถึงขนาด ว่าต้องเป็น Web base accounting ซึ่งอาจไกลเกินเอื้อมจนทำให้ โครงการล้มเหลว โปรดระลึกเสมอว่าควรทำแบบค่อยเป็นค่อยไป ทีละขั้น ทีละตอน จะประสบความสำเร็จมากกว่า และพิจารณาถึง
- โปรแกรมฯนั้นต้องมีความยืดหยุ่นในการปรับเปลี่ยน ความต้องการพื้นฐาน ให้เป็นไปตามความต้องการได้เองโดยไม่ต้องพึ่งพาโปรแกรมเมอร์ เช่น เราอาจจะต้องการตัวเลขไปทำรายงานต่อในโปรแกรมอื่นต้องสามารถทำได้เองอย่าง ง่าย
- ความเร็ว เมื่อเริ่มแรกที่ข้อมูลยังมีไม่มาก โปรแกรมบัญชีอาจมีความสามารถที่ดูไม่ต่างกัน แต่สิ่งหนึ่งที่ควรมองให้ลึกก็คือเมื่อมีข้อมูลมากขึ้น โปรแกรมนั้นจะมีขีดความ สามารถที่จะรองรับหรือไม่
- หลุมดำ ในโปรแกรม(Bug) เป็นธรรมดาของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่อาจจะมีหลุมดำหรือ bug ซึ่งจะก่อให้เกิดการหยุดชะงักในการประมวลผลหรือที่เรียกว่า Error เพื่อความปลอดภัย โปรดสอบถามผู้ขายว่า โปรแกรมนั้นมีผู้ใช้จำนวนกี่ราย และเลือกโปรแกรมที่มีผู้ใช้งานมากที่สุดจะปลอดภัยกว่า อีกทางหนึ่งคือเลือกโปรแกรมที่พัฒนาจากบริษัทฯที่มีชื่อเสียงทางด้านนี้ ก็จะให้ความั่นใจได้ดีกว่า
อีกประการหนึ่งโปรแกรมที่ดีจะต้องมีเครื่องมือจัดการ ซ่อมแซมฐานข้อมูลเมื่อเกิดการบกพร่องในการประมวลผลเช่นเมื่อไฟดับ ในระหว่างกำลังสั่งประมวลผลข้อมูลอยู่จะทำให้โปรแกรมเกิดอาการรวน โปรแกรมที่ดีจะต้องมีเครื่องมือที่จะช่วยกู้ข้อมูลที่รวนนี้กลับมาได้
3. พิจารณาคุณสมบัติของผู้จำหน่ายโปรแกรม สิ่งที่สำคัญพอๆ กันกับการเลือกโปรแกรมบัญชีก็คือคุณต้องให้ความสำคัญในการพิจารณาผู้ที่ จำหน่ายโปรแกรมบัญชีนั้น เพราะเขาจะต้องเป็นผู้ที่อบรมและคอยให้คำปรึกษาในการใช้งานแก่คุณตลอดไป ท่านจะต้องเลือกผู้ที่มีความรู้ในโปรแกรมนั้นเป็นอย่างดี อาจดูจากการที่เขาได้รับการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการในการจำหน่ายโปรแกรมนั้น หรือเป็นผู้พัฒนาโปรแกรมด้วยตนเอง และสามารถให้คำปรึกษาในการใช้งานได้จริงหลังการขาย
ท่านสามารถตรวจสอบได้ด้วยการสอบถามประสบการณ์จากผู้ ที่ใช้โปรแกรมกับนั้นอยู่ เมื่อเลือกสรรจนได้โปรแกรมที่เข้าตากรรมการสักหนึง ถึง สามรายแล้ว ด่านสุดท้ายก็คือ ให้ขอรายชื่อผู้ที่ใช้โปรแกรมนั้น จากผู้ขาย สักห้าราย เพื่อที่ท่านจะสามารถ สอบถามผู้ที่ใช้งานจริงว่ามีการใช้งานเป็นอย่างไร มีความพอใจกับโปรแกรมฯนั้นหรือไม่ บริการหลังการขายของผู้ขายเป็นอย่างไร และมีปัญหาใดที่เกิดขึ้นจากการใช้หรือไม่

ที่มา http://www.arip.co.th/businessnews.php?id=401628